บทคัดย่อ ภาษาไทย เรื่องที่2


ลิ้นชัก วารสารไทย
http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/history.html
http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/history.htmlศูนย์ TCI เริ่มต้นจากความสนใจของหัวหน้าโครงการ คือ อาจารย์ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยรพระจอมเกล้าธนบุรี โดยในปี พ.ศ. 2543 อาจารย์ณรงค์ฤทธิ์ ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ของมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ และได้มีโอกาสพบกับทีมบริหารของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) อาทิ เช่น ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช, ศ.ดร.วิชัย บุญแสง, ศ.ดร.ยอดหทัย เทพธรานนท์, ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์, ศ.ดร.มรว.ชิษณุสรร สวัสดิวัฒน์, ผศ.วุฒิพงศ์ เตชะดำรงสิน และท่านอื่นๆ ซึ่งท่านเหล่านี้ได้ปรารภว่า ตอนนี้อาจารย์ณรงค์ฤทธิ์ได้เป็นนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่แล้ว บทความที่จะตีพิมพ์ต่อไปควรลงพิมพ์ในวารสารที่มีค่า Journal Impact Factors (JIF) สูงขึ้น ประเด็นนี้ ทำให้อาจารย์ ณรงค์ฤทธิ์ เกิดความสนใจว่า JIF คืออะไร มีผลกระทบกับคุณภาพของบทความอย่างไร วารสารไทย มีค่า JIF หรือไม่ ดังนั้น อาจารย์ณรงค์ฤทธิ์จึงได้สร้างทีมวิจัยขึ้นมาเพื่อศึกษาวิจัยในเรื่องนี้ โดยเฉพาะ โดยได้เริ่มต้นเขียนข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ในปี 2544 
          วัตถุประสงค์หลักของโครงการวิจัยทุนวิจัยพระจอมเกล้าธนบุรี เรื่อง การศึกษาและจัดทำดัชนีผลกระทบการอ้างอิงของวารสารวิชาการภายในประเทศคือการคำนวนค่า JIF ด้วยการ นับการอ้างอิงจากการเปิดวารสารทุกเล่มทุกบทความ โดยมีเป้าหมายเพื่อศึกษาถึงค่าดัชนีผลกระทบการอ้างอิง (Journal Impact Factor, JIF) และค่าความเร็วของบทความที่ถูกนำไปอ้างอิง (Journal Immediacy Index, J-II) วิธีการคำนวณค่า JIF สำหรับวารสารวิชาการภายในประเทศ โดยมุ่งเน้นรายงานปริมาณการถูกอ้างอิง และความไวหรือความเร็วของบทความหนึ่งๆ ในวารสารที่ถูกนำไปอ้างอิงในปีเดียวกันกับที่บทความนั้นลงพิมพ์ในวารสารวิชาการในประเทศ โดยใช้วิธีการคำนวณตามหลักการของ Institute for Scientific Information (ISI) ซึ่ง นับเป็นครั้งแรก ที่ได้มีการจัดทำและรวบรวมดัชนีผลกระทบการอ้างอิงของวารสารวิชาการภายในประเทศอย่างเป็นรูปธรรม โครงการวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาข้อมูลจากวารสารวิชาการในประเทศจำนวน 68 รายการ ที่ตีพิมพ์ระหว่างปี พ.ศ. 2539-2543 ผลการวิจัยพบว่า วารสารวิชาการในประเทศทั้ง 68 รายการ มีค่า JIF เฉลี่ยเท่ากับ 0.069 ซึ่งบอกเป็นนัยว่าโอกาสที่บทความวิชาการเรื่องหนึ่งๆ ที่ลงพิมพ์ในวารสารวิชาการภายในประเทศที่จะถูกนำไปอ้างอิงมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.069 ครั้ง และวารสารไทยมีค่า J-II เฉลี่ยเท่ากับ 0.063 ซึ่งเป็นค่าที่น้อยมาก งานวิจัยนี้ได้ข้อค้นพบที่ชัดเจนว่า บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารไทยส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกนำไปใช้ในการอ้างอิงหรือถูกอ้างอิงน้อยมาก ซึ่งข้อค้นพบในโครงการนี้ ทำให้สถาบันวิจัยและสถาบันการศึกษาหลายแห่ง ทบทวนถึงความคุ้มค่าของการลงทุนในการจัดทำวารสารวิชาการภายในประเทศ รวมทั้งเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจให้กับสถาบันการศึกษาที่กำลังจะจัดทำวารสารวิชาการเพิ่มเติมจากที่มีอยู่ในปัจจุบัน นับเป็นการ เปิดลิ้นชักนำข้อมูลการอ้างอิงของวารสารไทย ออกมาแสดงให้กับประชาคมวิจัยได้รับทราบเป็นครั้งแรก ทำให้วงการวิชาการไทยเกิดการตื่นตัว และมีความพยายามในการส่งเสริมให้มีการวิจัยในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง 
http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/history.html

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บทความเรื่องที่1